ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ของ ไพศาล ครับ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเซ็ทแลนแบบเครื่องสองเครื่อง

คือ มีโน๊ตบุค 2 เครื่องคับ ทั้งสองเครื่อง มี wireless มี บลูทูจ

ผมจะสามารถเชื่อม Lan กัน ได้ซึ่งหลังจากหาข้อมูล พักหนึ่งก็สรุปได้ออกมาได้ประมาณ
1. ใช้สายแลน แบ่งออกเป็น สองประเภท คือ ผ่านราวเตอร์หรือฮับ กับ สายประเภทครอสไม่ต้องผ่าน
2.ใช้ ระบบ wireless ค้นหาสัญญาญแล้วแลนกัน
3.ใช้บูลทูจ ค้นหาสัญญาญ แล้วแลน กัน

ปัญหาคือ ไม่รู้ว่าจะเซ็ตค่ายังไงคับ ทั้งสามแบบ

สรุป คือ จะต้องเซ็ตค่า ตั้งค่า ต่างๆของเครื่องสองเครื่องให้แลนกันยังไงคับ แต่ล่ะแบบ พยายามหาข้อมูลแล้ว ช่วยทีคับ และอยากทราบว่าแต่ล่ะแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันยังไงแบบไหนดีสุด ณ บัดนนี้ยังแลนกันไม่ได้เลยคับ ทำไงดีช่วยผมด้วย
rinoa021Jun 2 2008, 06:00 PM
สายประเภทครอสไม่ต้องผ่านราวเตอร์หรือฮับ
เสียบสาย set IPaddress คนละตัว subnet mask ตัวเดียวกัน
การเซ็ทให้ windows มองเห็นกัน ก็เพียงแต่เซ็ท ให้อยู่ใน network เดียวกันเท่านั้นครับ ส่วนถ้าต้องการจะ share file ก็เพียงแต่ให้อยู่บน workgroup หรือ domain เดียวกันเท่านั้นครับ
ระบบ wireless
Wireless Network แบบ Ad hoc

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผักมี5ชนิด

มี5ชนิดคือ
1.ถั่วงอก
2.ผักชี
3.ผักคะน้า
4.ผักกะหล่ำปลี
5.ผักกวางตุ้ง
ผักคะน้า


ปลูกคะน้านอกฤดู...เคล็ดลับจากเซียนผักกรุงเก่า
ในแวดวงคนปลูกผักด้วยกันย่อมรู้ดีว่าผักคะน้าเป็นผักที่ปลูกค่อนข้างยากเพราะนอกจากจะเป็นโรคได้ง่ายแล้วยังเป็นที่นิยมของหนอนอีกด้วย แต่ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ผักคะน้ามี ราคาสูงกว่าผักชนิดอื่น ๆ อันเป็นเหตุจูงใจให้ ปฐพี พวงสุวรรณ์ เกษตรกรชุมชนนาคู จ.พระนครศรีอยุธยา มุ่งมั่นศึกษาพัฒนาวิธีการปลูกผักคะน้ามา อย่างต่อเนื่องโดยไม่ใช้สารเคมีจนเกิดความชำนาญ กระทั่งค้นพบเคล็ดลับการปลูกคะน้านอกฤดูกาลเป็นผลสำเร็จ“ผมเลือกปลูกคะน้าเพราะมีคนปลูกน้อยเนื่องจากเป็นผักที่มีโรคและแมลงเยอะ แต่ในทางกลับกันหากเราทำได้โอกาสได้กำไรก็เยอะกว่าผักชนิดอื่น...” ปฐพีเริ่มต้นเกริ่นนำแล้วบอกต่อว่า “...ผมอาศัยการรู้จักนิสัยใจคอของพืชเป็นหลัก เราเป็นคนปลูกผักเราต้องรู้จักผักที่เราปลูก ไม่งั้นไม่มีวันที่เราจะทำสำเร็จ เมื่อปลูกคะน้าผมก็หาตำรามาอ่านว่ามันเป็นพืชแบบไหน เป็นโรคอะไร มีวิธีป้องกันแก้ไขอย่างไร รวมถึงธรรมชาติในการเจริญเติบโตของมัน พอลงมือทำจริงเรา ต้องคอยดูแล สังเกตและทดลองเปรียบเทียบพิสูจน์ผลดูอย่างเช่นการให้ปุ๋ยบำรุงต้นใบนั้น หลังหว่านแล้ว ไม่ต้องให้ปุ๋ยบำรุงต้น ให้ปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งต้นจะแดง ๆ แต่แข็งแรงแมลงไม่กวน ไม่เป็นโรค หลังจาก 37 วันไปแล้วค่อยให้ปุ๋ยบำรุงต้น บำรุงใบ รับรองไม่ว่าต้นเล็กต้นใหญ่ก็โตเท่ากันหมด”สำหรับที่มาของการปลูกคะน้านอกฤดูนั้น ปฐพีบอกว่า “ผมเห็นว่าในช่วงหลังสงกรานต์ราคาคะน้าจะสูง ถ้าใครปลูกช่วงนี้ได้ผล ได้ตังค์แน่นอน ผมเลยพยายามศึกษาจนพบว่าสาเหตุสำคัญคือคะน้าเป็นผักเมืองหนาวไม่ทนร้อนในขณะที่บ้านเรานั้นช่วงเมษายนอากาศจะร้อนมากแต่เกษตรกรมักจะรดน้ำผักในตอนเช้าจนชุ่ม โดยลืมนึกไปว่า น้ำจะคายความร้อนช้ากว่าดิน ฉะนั้นตอนกลางวันอุณหภูมิจะสูงขึ้นไป เรื่อย ๆ ถึงประมาณ 60-70 องศา รากจะเน่าและตาย พอรู้อย่างนี้ผมก็เปลี่ยนใหม่ โดยตอนเย็นราดน้ำให้โชกนิดหนึ่ง ตอนเช้าจะเอาเรือมารดน้ำ ซึ่งการรดตอนเช้ามีประโยชน์คือ ล้างน้ำค้างเพราะน้ำค้างอาจทำให้เกิดเชื้อราทางใบได้พอประมาณ 10 โมงดินเริ่มร้อน รดน้ำอีกครั้งแบบโฉบ ๆ พอบ่ายสองโมงก็โฉบ ๆ อีกครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดทั้งวัน พอทำแบบนี้แล้วก็ได้ผลจริง ๆ”ปฐพีบอกว่าในพื้นที่ 3 งาน หากปลูกคะน้านอกฤดูจะได้กำไรประมาณ 7-8 หมื่นบาท ซึ่งเมื่อรวมกับคะน้าในฤดูอีก 2 ครั้งในปีหนึ่ง ๆ จะมีรายได้ร่วม 2 แสนบาท นี่ยังไม่รวมรายได้จากพืชผักสวนครัวชนิดอื่น ๆ ที่ปลูกแทรกในแปลงและรอบ ๆ แปลงซึ่งมีตลอดทั้งปี“นอกจากผลผลิตจะสร้างรายได้เพิ่มให้แล้ว ต้นทุนที่ลดลงก็นับว่าเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้ด้วยการหันมาใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีและการใช้สารชีวภาพยิ่งใช้ก็ยิ่งช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น เท่านั้น” ปฐพี กล่าว.

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

ถั่วงอก

ถั่วงอก


วิธีปลูกถั่วงอก

วิธีปลูกถั่วงอก เริ่มแรก ให้เตรียมหม้อ 1ใบ ยิ่งสีดำยิ่งดี เตรียม กระดาษทิชชู่แผ่นใหญ่ๆ ผ้าขนหมูขนาดคลุมพอดีกับหม้อ ยิ่งสีดำยิ่งดี เอาถั่วเขียวประมาณ 1 dl. มาแช่น้ำทิ้งไว้1คืน หรืออาจจะมากกว่านั้น ให้สังเกตดู ถ้าเปลือกเริ่มร่อนๆออกมา ก็ลงมือปลูกได้เลยนะคะ เอากระดาษทิชชู่ ปูลงไปในหม้อ สัก2ชั้น แล้วราดน้ำลงไปพอให้กระดาษชุ่มน้ำ เอาถั่วเขียว ที่แช่น้ำไว้แล้วอย่างน้อย1คืน เปลือกถั่วเขียวจะร่อนออกมาหน่อยๆ โรยให้ทั่วกระดาษ อย่าให้ติดกันเอาผ้าขนหนูผืนพอๆกับหม้อชุบน้ำให้ชุ่มๆ คลุมลงไปบนถั่วเขียวที่โรยไว้ อีกที เอาน้ำราดบนผ้าขนหนูอีกหน่อยพอให้มันชุ่มๆ ปิดฝาหม้อ วางไว้ในมุมมืดๆ ข้อนี้สำคัญมากๆ เพราะถ้าถั่วเขียวโดนแสงสว่าง หัวมันจะเป็นสีม่วงๆแดงๆ หลังจาก 24 ชม.ไปแล้ว ให้เอาน้ำอุณภูมิประมาณ 26 องศา เท่ากับตอนแรกที่ราดลงไป เปิดฝาหม้อ แล้วราดน้ำลงไปบนผ้าขนหนูพอให้ชุ่มแล้วปิดฝา แล้วมาอีกวัน ก็ทำเหมือนเดิม ทำอย่างนี้ ประมาณ 3 ถึง 4 วัน เราก็จะได้ ถั่วงอกที่อวบๆกินกัน ข้อควรจำเวลาถั่วงอกสูงได้ที่แล้ว ขณะที่ล้างถั่วงอก ให้ระวัง ถั่วเมล็ดที่ไม่งอก จะหล่นลงไปที่ ท่อระบายน้ำ เพราะ ถั่วที่ไม่งอกนี้ มันสามารถโตในท่อระบายน้ำได้ ที่บ้านเคยเจอมาแล้ว เพราะช่วงนั้นปลูกเยอะมากๆ ผลปรากฏว่าท่อตัน ต้องจ้างช่างมาล้วงท่ออีกทีคะ

ผักชี

1.ผักชี


วิธีปลูกผักชี


วิธีการปลูก ก่อนปลูกต้องรดน้ำให้ทั่วแปลง นำเมล็ดที่เตรียมไว้มาหว่านลงบนแปลงปลูกที่ได้เตรียมไว้ กลบด้วยดินละเอียดบางๆ แล้วคลุกด้วยฟางหรือหญ้าแห้งอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความชื้นของผิวดิน หรือจะปลูกโดยใช้วิธีโรยเป็นแถวบนแปลง ให้แต่ละแถวห่างกัน 20-30 เซนติเมตร แล้วทำการถอนแยกให้เหลือระยะระหว่างต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร หลังจากหว่านเสร็จแล้วต้องรดน้ำให้ชุ่ม
อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 20 ลิตรต่อไร่ อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์จะมากขึ้นหรือน้อยลงกว่านี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ฤดูกาล และเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีจะใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลง เพราะผักชีสามารถเจริญเติบโตได้ดีและรอดตายได้มาก
การดูแลรักษา
การให้น้ำ ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่ชอบน้ำขัง ดังนั้น ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น อย่าให้น้ำมากจนโชกเกินไป เพราะผักชีถ้าถูกน้ำหรือฝนมากๆ มักจะเน่าง่าย สำหรับวัชพืชที่ขึ้นในระยะแรกควรรีบกำจัดโดยเร็ว โดยใช้มือถอน อย่าปล่อยให้ลุกลามเพราะวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำและอาหารจากผักชี
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกรองพื้นตอนเตรียมดินก่อนปลูก เมื่อผักชีแตกใบแล้วถ้าจะเร่งให้งามเร็วก็ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ประมาณ 15-30 กรัม ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นในแปลงให้ทั่ว
ในการใส่ปุ๋ยผักชีมีการปฏิบัติกันหลายแบบแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ แต่วิธีที่ให้ได้ผลผลินที่ดีคือการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตผักชีได้สูงถึง 1,300-1,900 กิโลกรัมต่อไร่ และที่สำคัญคือผักชีเป็นผักที่ใช้ประโยชน์จากรากด้วย ดังนั้นในการถอนขึ้นมาจากดินจะต้องได้รากที่สมบูรณ์ ดินปลูกจึงต้องร่วนซุยพอสมควร ฉะนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มากทุกครั้งที่ปลูก หากได้ผักชีที่ต้นโตรากสวยงามก็จะทำให้ได้น้ำหนักมากขึ้นด้วย
โรคและแมลง โรคที่อาจพบในผักชี ได้แก่ โรคเน่าที่ใบและโคนต้น ซึ่งป้องกันกำจัดได้โดยการฉีดพ่นสารแมนโคเซป เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ในอัตราตามคำแนะนำที่ฉลาก และโรคใบไหม้ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นสารมาเน็บ เช่น ไดแทนเอ็ม 22, แมนเซทดี, แคปเทน เช่น ออร์โธไซด์ ในอัตราตามคำแนะนำที่ฉลาก